มีทิส (อังกฤษ: Metis) เป็นนางนิมฟ์ที่ดูแลซูสตั้งแต่ซูสยังเด็ก หลังจากที่พระนางเรีย ชายาของโครนัส (เทพไททัน) ได้ลักลอบนำซูสไปทิ้งไว้บนเกาะแล้วให้เหล่านิมฟ์ต่าง ๆ ช่วยกันดูแล เมื่อซูสโตขึ้น เขาก็ได้ครองรักกับมีทิส และมีทิสนี่เองคือบุคคลที่ปรุงน้ำยาสมุนไพรที่โครนัสดื่มแล้วสำรอกพี่ ๆ ของซูสออกมาจากท้อง แต่เนื่องจากหลังจากที่โครนัสพ่ายแพ้แก่ซูส เขาได้สาปแช่งก่อนจะหนีไปว่า ลูกของซูสที่เกิดจากนางมีทิสจะเป็นผู้สังหารซูส ซูสเกิดความหวาดกลัวจึงจับมีทิสกลืนลงท้อง เมื่อครบ 9 เดือน ซูสก็ปวดเศียรเป็นอย่างมาก ทันใดนั้นเทพีอะธีนาก็กำเนิดขึ้นโดยการแหกเศียรของซูสออกมา (บางตำนานว่าฮิฟีสตัส เทพแห่งการช่าง เป็นผู้ใช้อาวุธจามเศียรซูส อะทีนาจึงได้ออกมา)ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก นิมฟ์ (nymph) คือสตรีที่เป็นร่างตัวแทนของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นร่างที่ยึดติดกับสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือเป็นผู้ติดตามของเหล่าทวยเทพ ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะตกเป็นเป้าหมายของเหล่าซาไทร์ (satyr) ตัณหาจัด วอลเตอร์ เบอร์เคิร์ต (Walter Burkert) กล่าวว่า “ความคิดที่ว่าแม่น้ำคือเทพเจ้า และน้ำพุคือนิมฟ์นั้น ไม่ได้เป็นแค่ความนึกคิดของนักกวี หากแต่ยังเป็นถึงความเชื่อและพิธีกรรมอีกด้วย การบูชาเทพเจ้าเหล่านี้ถูกจำกัดอยู่เพียงสถานที่หนึ่งที่ใดที่พวกเขาไม่สามารถแยกออกจากสถานที่แห่งนั้นได้” นิมฟ์นับเป็นบุคคลาธิษฐานของการสรรสร้างของธรรมชาติ ซึ่งบ่อยครั้งมักใช้เป็นสัญลักษณ์ของน้ำพุเซเทอร์ (อังกฤษ: satyr, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈseɪtər/) ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นมนุษย์ในวัยหนุ่ม มักมีหูเป็นหูม้า มีเขาเล็กเหมือนแพะ มีขาเป็นแพะ มักท่องเที่ยวในป่าและภูเขา บางตำราบอกว่าเป็นเทพารักษ์ อีกทั้งยังเป็นผู้ติดตามของเทพแพน (Pan) และเทพไดโอไนซัสอีกด้วย ในเทพปกรณัม เซเทอร์ เกี่ยวข้องกับพลังทางเพศของเพศชายและผลงานศิลปกรรมกรีก-โรมันมักสร้างภาพของเซเทอร์ให้มีอวัยวะเพศที่ตั้งชูชัน
มิวส์ (อังกฤษ: Muses) เป็นเทพธิดาผู้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่กวี เป็นผู้ขับร้องบทเพลงแสนไพเราะที่แม้เทพเจ้าก็ต้องเงี่ยโสตสดับฟัง พวกนางเป็นธิดาของซุสกับนิโมซิเน มีอยู่ทั้งหมด 9 นาง คือ
ไคลโอ (Clio) – ผู้เป็นมิวส์แห่งประวัติศาสตร์ มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือม้วนกระดาษและหนังสือ
ยูเรนิอา (Urenia) – ผู้เป็นมิวส์แห่งดาราศาสตร์ มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือลูกโลกและเข็มทิศ
เมลพอมินี (Melpomene) – ผู้เป็นมิวส์แห่งโศกนาฏกรรม มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือหน้ากากในการแสดงละครโศกนาฏกรรม
ธาไลอา (Thalia) – ผู้เป็นมิวส์แห่งสุขนาฏกรรม มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือหน้ากากในการแสดงละครสุขนาฏกรรม
เทิร์ปซิคอเร (Terpsichore) – ผู้เป็นมิวส์แห่งนาฏศิลป์ มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือพิณไลร์ (Lyre)
แคลลีโอพี (Calliope) – ผู้เป็นมิวส์แห่งกวีนิพนธ์มหากาพย์ มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือกระดานชนวน
เอราโต (Erato) – ผู้เป็นมิวส์แห่งกวีนิพนธ์รัก มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือพิณเจ็ดสายที่เรียกว่าคิธารา (Cithara)
โพลิฮิมเนีย (Polyhymnia) – ผู้เป็นมิวส์แห่งเพลงสดุดีปวงเทพ มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือผ้าคลุมศีรษะ
ยูเทอร์พี (Euterpe) – ผู้เป็นมิวส์แห่งกวีนิพนธ์คีตกานท์ มีสัญลักษณ์ประจำตัวคือขลุ่ยและเครื่องออลอส (Aulos)
พวกนางเป็นสหายของเทพอพอลโล่และเทพธิดาเกรซ เป็นผู้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้กับกวีเฮซิออด ผู้อาศัยอยู่ใกล้เฮลิคอน ซึ่งเป็นภูเขาลูกหนึ่งของเทพธิดามิวส์
ยุคทองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ด้านหนึ่งก็มีผลร้ายเหมือนกัน นั่นคือ ด้วยความมั่งคั่ง และรุ่งเรืองต่อเนื่องยาวนานทำให้ประชาชนหลงใหลและขาดการเตรียมตัว ทำให้จักรวรรดิเริ่มอ่อนแอลง อีกทั้งเกิดความแตกแยกในหมู่ผู้ปกครองและชนชั้นสูงและระหว่างกลุ่มขุนนางทหารกับขุนนางพลเรือน เมื่อเกิดการรุกรานจากศัตรูทำให้ไบแซนไทน์ต้องประสบปัญหาในที่สุด โดยเฉพาะการรุกรานของชนเผ่าเติร์กหรือเซลจุกเตริร์กในเวลาต่อมากล่าวคือชนเผ่าเติร์กเป็นศัตรูกลุ่มใหม่ที่เริ่มรุกรานจักรวรรดิไบแซนไทน์ในกลางศตวรรษที่ 11 อันที่จริงแล้วเมื่อสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 7 เคยได้เข้าร่วมกับพวกเติร์กในการต่อต้านการรุกรานของบัลแกเรียมาแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นจักรพรรดิทรงอนุญาตให้ชาวเติร์กตั้งถิ่นฐานอยู่ในทางตอนใต้ของแม่น้ำดานูบ และที่สำคัญเหนือไปกว่านั้นชาวไบแซนไทน์เองที่สอนให้ชาวเติร์กให้รบเก่งและมีระบบ ต่อมาเมื่อเติร์กขยายตัวมากยิ่งขึ้นก็เริ่มรุกรานพื้นที่หลายแห่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในปี ค.ศ. 1055 เติร์กสามารถชนะเปอร์เซีย หลังจากนั้นพวกเขาก็ยกทัพเข้าแบกแดดและเริ่มสถาปนาตนเองเป็นสุลต่าน พร้อมอ้างตัวเป็นผู้คุ้มครองกาหลิบอับบาสิด และเริ่มขยายอำนาจเข้าสู่อียิปต์และอนาโตเนีย ต่อมา ค.ศ. 1065 เติร์กรุกเข้าอาร์มีเนีย และ ค.ศ. 1067 ก็สามารถขยายอำนาจเข้าสู่อนาโตเลียตอนกลาง ค.ศ. 1067 ไบแซนไทน์มีจักรพรรดิคือ โรมานุสที่ 4 พระองค์ทรงพ่ายแพ้ต่อกองทัพเติร์กที่สนามรบอาร์มีเนีย และพระองค์ก็ถูกจับเป็นเชลยต่อกองทัพของเติร์กจำเป็นต้องเซ็นสัญญาสงบศึกกับเติร์กก่อนจะได้รับการปล่อยตัว เมื่อจักรพรรดิโรมานุสเดินทางกลับยังคอนสแตนติโนเปิลพระองค์ก็ไม่เป็นที่ยอมรับจนเกิดการแย่งชิงอำนาจขึ้นภายในจักรวรรดิไบแซนไทน์ ทำให้เติร์กส่งกองกำลังมารบกวนจนสามารถยึดไนเซีย อันเป็นเมืองฐานกำลังทหารและเศรษฐกิจของจักรวรรดิ ไม่เพียงเท่านั้นไบแซนไทน์ยังถูกซ้ำเติมอีกชาวนอร์แมน รุกเข้ามายึดอิตาลีทั้งหมดในกลางปี ค.ศ. 1071 โดยเข้ายึดฐานที่มั่นของไบแซนไทน์ในอิตาลีที่เมืองบารีได้ให้อิตาลีทั้งหมดตกอยู่ในใต้อำนาจของนอร์แมนกลายเป็นการปิดฉากอำนาจของไบแซนไทน์ในคาบสมุทรอิตาลีไปด้วย
หลังจากเสียอิทธิพลในฝั่งอิตาลีไปแล้ว ไบแซนไทน์ก็มีอาณาเขตเล็กลงมาก นอกจากนั้นภายในไบแซนไทน์ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันอย่างไม่สิ้นสุด หลังจากที่แย่งชิงกันอยู่ถึง 4 ปี สุดท้าย อเล็กเซียส คอมมินุส ซึ่งเป็นขุนนางทหารก็ได้เป็นจักรพรรดิเมื่อจักรวรรดิถูกปิดล้อมทั้งตะวันตกโดยชาวนอร์แมน และทางตะวันออกโดยเซลจุกเติร์กทำให้จักรพรรดิ อเล็กเซียสที่ 1 (ค.ศ. 1081-1811) ต้องไปขอความช่วยเหลือจากพวกเวนิส โดยที่พระองค์ต้องยอมตกลงตามข้อเรียกร้องของเวนิส โดยการให้สิทธิการค้าในกรุงคอนสแตนติโนเปิลและที่อื่น ๆ ในไบแซนไทน์ ซึ่งข้อตกลงนี้เองทำให้ชาวเวนิสกลายมาเป็นพ่อค้าสำคัญในด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในเวลาต่อมา สงครามครูเสด การรุกรานของชนทั้งสองต่อไบแซนไทน์ก็ยังไม่สิ้นสุดลงจนกระทั่งจักรพรรดิอเล็กเซียสที่ 1 จำต้องขอความชั่วเหลือไปยังสมเด็จพระสันตะปาปา โดยยกขออ้างให้ช่วยเหลือเมืองเยรูซาเล็ม ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกเติร์กยึดครองไปตั้งแต่ ค.ศ. 1077 และกองทัพครูเสดครั้งที่ 1 ก็ถูกส่งเข้ามา จักรวรรดิไบแซนไทน์ ปี ค.ศ. 1180 ด้วยชัยชนะของกองทัพครูเสดดินแดนบางส่วนก็ได้ส่งคืนให้กับจักรพรรดิไบแซนไทน์ แต่บางส่วนแม่ทัพชาวมอร์แมนกลับไม่ยอมยกคืนให้ทั้งที่ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นั้นจักรพรรดิไบแซนไทน์เป็นผู้ที่เสียให้เกือบทั้งหมด ผ่านพ้นสงครามครูเสดครั้งที่ 1 พวกเติร์กก็ยังรุกรานอยู่เช่นเดิม จักรพรรดิองค์ต่อมาเห็นว่าชาวตะวันตกมีบทบาทจึงได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับชาวตะวันตกเอาไว้ ต่อมาเกิดสงครามครูเสดครั้งที่ 2 กองทัพครูเสดต้องใช้ไบแซนไทน์เป็นทางผ่านทำให้ไบแซนไทน์ถูกกองทัพครูเสดบางกลุ่มเข้าปล้น จักรวรรดิไบแซนไทน์ (สีม่วง) ปี ค.ศ. 1450 ไบแซนไทน์ยังต้องทำสงครามกับเติร์กมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยชาวเติร์กรุกเข้ามาในจักรวรรดิ โดยเริ่มจาก ค.ศ. 1377 เติร์กประกาศตั้งเมืองหลวงของออตโตมันที่อเดรียนเนเปิล ค.ศ. 1385 ก็ยึดเมืองโซเฟีย ค.ศ. 1386 ได้เมืองนีส เมืองเทสสาโลนิกา กรุงคอนสแตนติโนเปิลโดนล้อมในปี ค.ศ.1453 โดยกองทัพออตโตมัน พฤษภาคม ค.ศ. 1453 จักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ต้องพ่ายแพ้แก่จักรวรรดิออตโตมันของชาวเติร์ก และถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันในที่สุด จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ล่มสลายลง จักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นรักษาวัฒธรรมของโรมันและวัฒธรรมกรีก เป็นระยะเวลา 1123 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 330-1453 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมัน (ครองราชย์ ค.ศ. 1449-1453) การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ เกิดขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดโดยชาวออตโตมันเติร์ก ในปี ค.ศ. 1453 หลังจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตกก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอิสตันบูลมาจนถึงปัจจุบัน และในทางประวัติศาสตร์ยังได้ถือว่าการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นที่สิ้นสุดของยุคกลางในยุโรป
ในเทพปกรณัมกรีก เทพเจ้าแห่งโอลิมปัส เป็นเทพเจ้าหลักของศาสนากรีกโบราณ โดยมากถือว่าประกอบด้วยซูส ฮีรา โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอรีส แอโฟรไดที ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะไนซัส บางครั้งรวมเฮดีสและเพอร์เซฟะนีเป็นส่วนหนึ่งของสิบสองเทพโอลิมปัสด้วย แต่โดยทั่วไปไม่นับเฮดีส เพราะพระองค์ประทับอย่างถาวรในโลกบาดาลและไม่เคยเสด็จเยือนยอดเขาโอลิมปัส บางครั้งนับรวมเฮราคลีสและอัสคลิปิอุสเช่นกันประมวลเรื่องปรัมปรากรีก (กรีกโบราณ: ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นประมวลเรื่องปรัมปราของอารยธรรมกรีกโบราณ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานประมวลเรื่องปรัมปราขึ้น ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อนค.ศ. แต่ปัจจุบันเรื่องราวปรัมปราเหล่านี้ เราทราบจากวรรณกรรมกรีกโบราณทั้งสิ้น