ไกอา หรือ เกอา (อังกฤษ: Gaia; จากภาษากรีกโบราณ: Γαîα; ภาษากรีกปัจจุบัน: Γῆ; หมายความว่า พื้นดิน หรือพื้นโลก) หรือ จีอา (อังกฤษ: Gaea) เป็นอุลตร้าแมน เทพีองค์แรกของโลกตามตำนานของชาวกรีก ร่างกายของนางคือพื้นพิภพ นามในภาษาละตินของนางคือ เทอร์รา (Terra)แต่เดิมนั้นในโลกมีเพียงความวุ่นวายและมืดมน นั่นก็คือเคออส ต่อมาไกอาได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นพื้นพิภพ พร้อม ๆ กับนิกซ์ผู้เป็นกลางคืน อีรีบุสผู้เป็นความมืด อีรอสหรือกามเทพ และทาร์ทารัส คุกใต้พิภพ ต่อมาไกอาจึงสร้างอูรานอส หรือท้องฟ้าขึ้นปกคลุมเหนือผืนดิน ปอนตัสหรือทะเล และโอยูเรีย หรือภูเขาขึ้น ไกอาเป็นเทพีองค์แรกของโลก และเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งปวง ดังนั้นไกอาจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในด้านการสร้าง นางมีสวามีหลายองค์และให้กำเนิดลูกหลานเป็นเทพ อสุรกาย และภูตพรายต่าง ๆ เป็นจำนวนมากไซคลอปส์ (กรีก: Κύκλωψ; ละติน: Cyclops หรือ Kyklops) หรือ อสูรตาเดียว เป็นสัตว์ประหลาดในตำนานกรีก ชื่อไซคลอปส์ถูกใช้ระบุถึงยักษ์ตาเดียวสองชนิด โดยชนิดแรกเป็นลูกของเจ้านภา อูรานอสและพระแม่ธรณี ไกอา ซึ่งไซครอปส์จำพวกนี้มีเด่น ๆ 3 ตน คือ อาจีรอส บรอนทีส และสเตอร์โรพีท มักจะถือค้อนอันใหญ่ มีพลังแห่งสายฟ้า และมีฝีมือในด้านช่างเหล็ก ไซคลอปส์กลุ่มนี้ถูกยูเรนัสกักขังไว้ในทาทารัส จนกระทั่งซุสปลดปล่อยออกมาหลังจากที่โค่นโครนัสผู้เป็นบิดา ซึ่งไซคลอปส์ได้ตอบแทนโดยตีอาวุธต่าง ๆ ให้เหล่าเทพ ได้แก่ สายฟ้าให้แก่ ซุส สามง่าม ให้แก่ โพไซดอน หมวกล่องหน ให้แก่ ฮาเดส และเหล่าไซคลอปส์ได้เป็นลูกมือของเทพแห่งช่างเหล็กเฮฟเฟสตุสในเวลาต่อมา จนกระทั่งถูกอพอลโลสังหารเพื่อล้างแค้นให้แอสคิวลาปิอัสที่ถูกซุสใช้สายฟ้าฟาด ไซคลอปส์กลุ่มที่สองเป็นลูกหลานของโพไซดอนและพรายน้ำโทซา ไซคลอปส์กลุ่มนี้กินมนุษย์เป็นอาหาร โดยมีบทบาทในเรื่องโอดิสซีย์
ไซคลอปส์มีความนิยมมากเหมือนกัน เช่นไซคลอปส์ในการ์ตูน ไซคลอปส์ในเกม หรือในนวนิยายเป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า ทรงเป็นทั้งบุตรและสวามีของพระแม่ไกอา เทพีแห่งพื้นดิน ท่านทั้งสองสมหวังกันด้วยอีรอส (คิวปิด) เทพเจ้าแห่งความรัก ที่ทั้งคู่รักกันด้วยเหตุผลคือ พื้นดินนั้นมองท้องฟ้าทุกวัน จนเทพอีรอสทนไม่ไหวจึงแผลงศรให้ทั้งคู่รักกัน มีลูกด้วยกันคือ เหล่ายักษ์ ปีศาจผู้อัปลักษณ์ ทำให้ยูเรนัสไม่พอใจอย่างมาก จึงจับไปขังที่นรกที่ลึกที่สุดคือ นรกทาร์ทารัส เกิดความเคียดแค้นใจกับไกอาอย่างยิ่ง บุตรกลุ่มต่อมาคือ ไททัน ซึ่งมีรูปลักษณ์ดูดี ทำให้ท่านพอใจ ยิ่งเกิดความเคียดแค้นต่อไกอาเป็นเท่าทวีคูณ นางจึงขอร้องให้ลูก ๆ เหล่าไททันสังหารยูเรนัส โครนัสหนึ่งในเหล่าไททันตอบตกลงที่จะช่วย ต่อมายูเรนัสจึงโดนโค่นล้มโดยโครนัส ลูกชายตนเอง การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (อังกฤษ: The Fall of the Western Roman Empire) เรียกอีกอย่างว่า การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน หรือ การล่มสลายของกรุงโรม เป็นกระบวนการของการเสื่อมถอยในจักรวรรดิโรมันตะวันตกซึ่งล้มเหลวในการปกครอง ศูนย์เสียอธิปไตยเดิมที่จักรวรรดิเคยมี และ ดินแดนอันกว้างใหญ่ถูกแบ่งออกเป็นหลายเมือง จักรวรรดิโรมันสูญเสียความเเข็งแกร่งทางการทหารในการปกครองอย่างมีประสิทธิภาพเหนือจังหวัดทางตะวันตกของตน นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่แสดงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเสื่อมถอย ประกอบด้วย จำนวนประชากรชาวโรมัน จำนวนทหารในกองทัพ ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการปกครองของจักรพรรดิ การต่อสู้แย่งชิงอำนาจภายใน การเปลี่ยนแปลงทางศาสนาในยุค และประสิทธิภาพของการบริหารงานโยธา นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากภายนอก โดยการรุกรานของชนป่าเถื่อนนอกวัฒนธรรมโรมัน ก็มีส่วนทำให้เกิดการล่มสลายเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในยุคนั้นก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก เหตุผลในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นวิชาหลักของประวัติศาสตร์ของโลกยุคโบราณ ที่บอกเล่าเรื่องความล้มเหลวของรัฐในอดีตและปัจจุบัน
ในปี ค.ศ.376 ชาวก็อธ (Goths) และชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวโรมัน หนีจากพวกฮันมาลี้ภัยอยู่ในจักรวรรดิ ในปี ค.ศ.395 หลังจากชนะสงครามกลางเมือง 2 ครั้ง จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1 สวรรคต ทิ้งกองทัพที่ล่มสลายและจักรวรรดิที่ยังคงถูกครอบงำโดยชาวก็อธ มีการแบ่งฝักฝ่ายระหว่างแม่ทัพ ผู้เป็นลูกชายของโธโดสิอุสที่ 1 ทั้งสองคน ผู้ไร้ความสามารถในการปกครองจักรวรรดิ นอกจากนั้นกลุ่มคนเถื่อนได้ทำการข้ามแม่น้ำไรน์และเขตแดนอื่น ๆ และเช่นเดียวกับชาวก็อธ ชนเผ่าที่เข้ามาอยู่อาศัยไม่ถูกกำจัดถูกขับไล่ หรือ ถูกปราบปราม กองกำลังติดอาวุธของจักรวรรดิตะวันตกมีจำนวนน้อยและไม่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้จะมีการฟื้นตัวระยะสั้นภายใต้ผู้นำที่มีความสามารถ ไม่เคยมีการรวมศูนย์กำลังทางการทหารและการปกครองอีกเลยในจักรวรรดิโรมันตะวันตก
เมื่อถึงปี ค.ศ.476 ตำแหน่งของจักรพรรดิโรมันตะวันตกมีอำนาจทางทหาร การเมืองและ อำนาจทางการเงินเพียงน้อยนิด ปราศจากอำนาจควบคุมจังหวัดทางตะวันตกที่กระจัดกระจายซึ่งเดิมเป็นเขตแดนของโรมัน อาณาจักรของอนารยชนได้สร้างฐานอำนาจของตนเองขึ้นในพื้นที่ของจักรวรรดิตะวันตก ในปี ค.ศ.476 พระเจ้าโอเดเซอร์ กษัตริย์องค์แรกแห่งอิตาลี ได้ปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก จักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส ลงจากราชบังลังก์ และวุฒิสภาของจักรวรรดิโรมันตะวันตกได้ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้กับจักรพรรดิโรมันตะวันออก ทำให้เหลือเมืองหลวงเพียงแห่งเดียว ณ กรุงคอนสแตนติโนเปิล สิ้นสุดความเป็นศูนย์กลางของกรุงโรมนับแต่นั้น แม้ว่าเกียรติภูมิของจักรวรรดิโรมันตะวันตก จะดำเนินต่อไปอีกหลายศตวรรษ และอิทธิพลทางวัฒนธรรมของจักรวรรดิยังคงอยู่ในทุกวันนี้ จักรวรรดิตะวันตกไม่เคยมีความเข้มแข็งที่เคยมีอีกเลย จักรวรรดิไม่สามารถควบคุมยุโรปตะวันตก ทางเหนือของเทือกเขาแอลป์ จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือ จักรวรรดิไบแซนไทน์ คงอยู่ต่อมาได้ แม้ว่าความแข็งแกร่งของจักรวรรดิโรมันจะลดลงจากเดิม จักรวรรดิโรมันตะวันออกจะยังคงอยู่เป็นเวลาอีกหลายศตวรรษ เป็นมหาอำนาจของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก
จักรวรรดิโรมันตะวันตก (อังกฤษ: Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปีค.ศ. 285 อีกครึ่งหนึ่งเป็นจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ โรมยุติความเป็นเมืองหลวงลงหลังจากการแบ่งแยก ในปี ค.ศ. 286 เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันตกย้ายไปตั้งอยู่ที่เมดิโอลานัม (ปัจจุบันคือมิลาน) และย้ายอีกครั้งไปยังราเวนนาในปี ค.ศ. 402 หลังจากการแยกตัวแล้ว จักรวรรดิโรมันก็รุ่งเรืองอยู่เป็นช่วง ๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากระบบการปกครองแบบของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน และการรวมตัวโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิจูเลียนเดอะอโพลเตท จักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายที่ทรงปกครองจักรวรรดิโรมันที่รวมตัวกัน แต่หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระองค์ในปี ค.ศ. 395 จักรวรรดิโรมันก็แยกตัวกันอย่างเด็ดขาด จักรวรรดิโรมันตะวันตกสิ้นสุดลงเมื่อโรมิวลัส ออกัสตัสสละราชสมบัติโดยการบีบบังคับของโอเดเซอร์เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 476 และอย่างเป็นทางการหลังจากการเสด็จสวรรคตของจักรพรรดิจูเลียส เนโพส (Julius Nepos) ในปี ค.ศ. 480
แม้ว่าจะได้รับการกู้คืนโดยจักรวรรดิโรมันตะวันออก จักรวรรดิโรมันตะวันตกก็มิได้ฟื้นตัวขึ้นอีก เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสมัยประวัติศาสตร์ของยุโรปก็เข้าสู่สมัยต่อมาที่เรียกว่ายุคกลางหรือที่เรียกกันว่ายุคมืด อุดมการณ์และชื่อของจักรวรรดิโรมันตะวันตกได้รับการรื้อฟื้นมาใช้เป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1806
ในเทพปกรณัมกรีก เทพเจ้าแห่งโอลิมปัส เป็นเทพเจ้าหลักของศาสนากรีกโบราณ โดยมากถือว่าประกอบด้วยซูส ฮีรา โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอรีส แอโฟรไดที ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะไนซัส บางครั้งรวมเฮดีสและเพอร์เซฟะนีเป็นส่วนหนึ่งของสิบสองเทพโอลิมปัสด้วย แต่โดยทั่วไปไม่นับเฮดีส เพราะพระองค์ประทับอย่างถาวรในโลกบาดาลและไม่เคยเสด็จเยือนยอดเขาโอลิมปัส บางครั้งนับรวมเฮราคลีสและอัสคลิปิอุสเช่นกันประมวลเรื่องปรัมปรากรีก (กรีกโบราณ: ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นประมวลเรื่องปรัมปราของอารยธรรมกรีกโบราณ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานประมวลเรื่องปรัมปราขึ้น ประมวลเรื่องปรัมปรากรีกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อนค.ศ. แต่ปัจจุบันเรื่องราวปรัมปราเหล่านี้ เราทราบจากวรรณกรรมกรีกโบราณทั้งสิ้น